ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดค่าเงิน Forex แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆซึ่งก็คือผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดและผู้ใช้บริการในตลาด โดยยึดหลักจากกิจกรรมในการซื้อขายและอิทธิพลที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในการแบ่งกลุ่ม
ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดคือธนาคารขนาดใหญ่และองค์กรบริหารด้านการเงินซึ่งองค์กรเหล่านี้เองที่จะเป็นผู้กำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยน โดยกำหนดจากปริมาณหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาดโลก ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดจะคอยควบคุมดูและการซื้อขายหุ้น อีกทั้งยังร่วมทำการซื้อขายด้วย โดยหน้าที่หลักของผู้ดูแลตลาดคือการส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องอยู่เสมอโดยการสร้างคำสั่งการซื้อหรือขาย ซึ่งในที่นี้เป็นหน้าที่ของธนาคารระหว่างประเทศขนาดใหญ่และสถาบันทางการเงินที่จะเป็นผู้ดำเนินการซื้อหรือขายหุ้นรายวัน โดยแต่ละวันมีปริมาณการซื้อหรือขายหุ้นหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตลาดทุกประเภทต่างก็ต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่องกันทั้งนั้น ในกรณีเดียวกันโบรกเกอร์ของตลาด Forex ก็จำเป็นต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดส่วนตัว ธนาคารดอยซ์แบงก์ ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารบาร์เคลย์ ธนาคารPBS ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคาร Chase Manhattan Bank และธนาคาร Union Bank of Switzerland ธนาคารเหล่านี้ถือเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจเลือกผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาด เราไม่ควรเลือกเพียงขนาดของธนาคารเท่านั้น แต่ควรให้ความสนใจกับหุ้นที่ธนาคารดังกล่าวมีอยู่ในตลาดและศักยภาพในการกำหนดนโยบายทางราคาในตลาดเสียมากกว่า
ตลาดทุกประเภทจำเป็นต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดส่วนตัว สำหรับการซื้อขายคู่สกุลเงิน USD/CHF ตราสารการซื้อขาย ผุ้ดูแลสภาพคล่องในตลาดหลักๆคือธนาคาร Credit Suisse Bank และธนาคาร Union Bank of Switzerland สำหรับการซื้อขายหุ้นที่รวมค่าเงินเอเชีย ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดหลักๆคือธนาคาร Standard Chartered Bank ส่วนการซื้อขายโดยใช้เงินรูเบิล ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดคือธนาคารInternational Moscow Bank และธนาคาร the Onexim Bank ธนาคารกลางของรัสเซียสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดได้โดยการกำหนดอัตราค่าเงินรูเบิล อีกทั้งยังสามารถแทรกแซงค่าเงินหากเกิดกรณีที่อัตราค่าเงินรูเบิลเพิ่มขึ้นไปเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้
ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดจะเป็นคนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราโดยการร่วมดำเินการซื้อขาย ซึ่งพวกเขาจะทำการซื้อขายกับธนาคารขนาดเล็กด้วยเนื่องจากธนาคารขนาดเล็กเองก็เป็นผู้มีส่วนร่วมในตลาดเช่นกัน กล่าวคือผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดเป็นผู้เสนออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้กับธนาคารขนาดเล็ก องค์กรต่างๆและรวมไปถึงบุคคล ซึ่งองค์กรหรือบุคคลเหล่านี้คือผู้ใช้บริการตลาด
ผู้ใช้บริการตลาดคือองค์กรที่ให้บริการทางด้านการเงิน บริษัทโบรกเกอร์ ธนาคารขนาดเล็กและปัจเจกบุุคคลซึ่งองค์กรหรือบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ใช้งานอัตราแลกเปลี่ยนที่ผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดเป็นผู้กำหนด ปริมาณหุ้นทั้งหมดในตลาดถือเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตามหุ้นของผู้ใช้บริการถือเป็นเพียงหุ้นกลุ่มเล็ก ผู้ใช้บริการในตลาดนี้อาจเลือกที่จะยอมรับหรือไม่ยอมรับอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดก็ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วหน้าที่หลักของผู้ดูแลสภาพคล่องในตลาดก็คือการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้ใช้บริการในตลาดเป็นผู้ใช้งานอัตราแลกเปลี่ยนเหล่านั้น